วันพุธที่ ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

จากขบวนการลูกเสือ>หลักสูตรลูกเสือ


ขบวนการลูกเสือ เป็นองค์การเยาวชนประเภทหนึ่งที่จัดให้มีการฝึกอบรมอย่างมีขั้นตอน เป็นขบวนการให้การศึกษานอกแบบ
โดยมีเครื่องแบบสัญลักษณ์ มีอุดมการณ์ที่แน่ชัดเพื่อพัฒนาเยาวชนให้เป็นพลเมืองดีและมีความรับผิดชอบ โดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติ
ศาสนา และไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง ทั้งนี้ก็เพื่อให้เป็นไปตามความประสงค์ หลักการ และวิธีการ ซึ่งผู้ให้กำเนิดลูกเสือโลกได้ให้
ไว้ว่า ขบวนการนี้เป็นขบวนการระดับโลก มีสมาชิก 151 ประเทศ โดยมีลูกเสือและผู้บังคับบัญชาลูกเสือทั่วโลกประมาณ 20 ล้านคน
โดยประเทศสมาชิกจะส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุมสมัชชาลูกเสือโลก ได้ประเทศละ 6 คน ซึ่งจะมีการประชุมทุก ๆ 3 ปี ณ ประเทศใด
ประเทศหนึ่งตามมติของที่ประชุมสมัชชาลูกเสือโลก มีสำนักเลขาธิการทำหน้าที่ปฏิบัติตามคำสั่งหรือมติของสมัชชาลูกเสือโลก
เรียกว่าสำนักงานลูกเสือโลก ซึ่งมีเลขาธิการเป็นหัวหน้าสำนักงาน และมีเจ้าหน้าที่อีกประมาณ 40 คน ปัจจุบันสำนักงานลูกเสือโลก
ตั้งอยู่ที่เมืองเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ นอกจากนี้ยังมีสำนักงานประจำภูมิภาคอีก 5 เขต ดังนี้
1. เขตอินเตอร์ - อเมริกา ตั้งอยู่ที่เมืองซานโฮเซ ประเทศคอสตาริกา
2. เขตเอเซีย - แปซิฟิก ตั้งอยู่ที่เมืองมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์
3. เขตอาหรับ ตั้งอยู่ที่เมืองไคโร ประเทศอียิปต์
4. เขตยุโรป ตั้งอยู่ที่เมืองเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์
5. เขตแอฟริกา ตั้งอยู่ที่เมืองไนโรบี ประเทศเคนยา
ประเทศไทยสังกัดอยู่ในเขตเอเซีย - แปซิฟิกนี้ด้วย โดยมีการประชุมสัมมนาเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2501
หลักสูตรการเรียนการสอนกิจกรรมลูกเสือ ในฐานะที่คณะลูกเสือแห่งชาติ ( The National Scout Organization
of Thailand : NSOT ) เป็นสมาชิกขององค์การลูกเสือโลก จะต้องปฏิบัติตามวัตถุประสงค์ หลักการ และวิธีการของการลูกเสือ
ตามที่องค์การลูกเสือโลกได้กำหนดไว้อย่างเคร่งครัดแล้ว คณะลูกเสือแห่งชาติยังยึดมั่นในวัตถุประสงค์ของคณะลูกเสือแห่งชาติ
ตามพระราชบัญญัติลูกเสือ(ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2528 และปฏิบัติตามข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติ ว่าด้วยการปกครอง หลักสูตรและ
วิชาพิเศษ พ.ศ. 2509 การเรียนการสอนกิจกรรมลูกเสือ เดินเป็นกิจกรรมเลือก ต่อมาได้แก้ไขเป็นกิจกรรมบังคับ และได้แก้ไขอีก
ครั้งเป็นวิชาบังคับเรียน แต่เมื่อประเมินผลแล้วเห็นว่าไม่ประสบผลสำเร็จ จึงแก้ไขเป็นกิจกรรมบังคับเลือก จนถึง พ.ศ. 2544
กระทรวงศึกษาธิการ จึงได้กำหนดให้สถานศึกษาใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 เริ่มตั้งแต่ปีพ.ศ. 2546 เป็นต้นไป
โดยกำหนดให้กิจกรรมลูกเสือ ยุวกาชาด และผู้บำเพ็ญประโยชน์ อยู่ในกลุ่มกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โดยมีโครงสร้างหลักสูตรดังนี้
1. ลูกเสือสำรอง ( อายุ 8-11 ปี ) เรียนอยู่ในระดับชั้น ป.1 - ป.3 โดยมีวิชาแกนคือ เตรียมลูกเสือสำรอง ดาวดวงที่ 1 - 3 และมี
วิชาพิเศษ 18 วิชา ใช้วิธีบูรณาการเข้ากับวิชาสามัญในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2. ลูกเสือสามัญ ( อายุ 11 -16 ปี ) เรียนอยู่ในระดับชั้น ป.4 - ป.6 โดยมีวิชาแกนคือ ลูกเสือตรี โท เอก และมีวิชาพิเศษ 54 วิชา
ใช้วิธีบูรณาการเข้ากับวิชาสามัญในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
3. ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ ( อายุ 14 -18 ปี ) เรียนอยู่ในระดับชั้น ม.1 - ม.3 โดยมีวิชาแกนคือ ลูกเสือโลก ลูกเสือชั้นพิเศษ
ลูกเสือหลวง และมีวิชาพิเศษ 76 วิชา ใช้เรียนนอกเวลาหรือในเวลาเรียน
4. ลูกเสือวิสามัญ ( อายุ 16 -25 ปี ) เรียนอยู่ในระดับชั้น ม.4 - ม.6 โดยมีวิชาแกนคือ เตรียมลูกเสือวิสามัญ สำรวจตนเอง
พิธีเข้าประจำกอง และมีวิชาพิเศษ 12 วิชา ใช้เรียนนอกเวลาตามแต่สถานศึกษาเป็นผู้จัด

ไม่มีความคิดเห็น: