วันพฤหัสบดีที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒

วันวชิราวุธ

ลูกเสือ เนตรนารี ย่อมจะไม่ลืมวันที่ 25 พฤศจิกายนของทุกปี เพราะว่าวันดังกล่าวตรงกับ"วันวชิราวุธ" ซึ่งกำหนดขึ้นเพื่อ
เทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ผู้ทรงริเริ่มกิจการลูกเสือในประเทศไทย จึงขอนำเอาเกร็ด
ความรู้ในวันสำคัญนี้มาให้ได้อ่านกันนะครับ
วันวชิราวุธ ตรงกับวันที่ 25 พฤศจิกายนของทุกปี สาเหตุที่กำหนดให้เป็นวันนี้ เนื่องจากตรงกับวันคล้ายวันสวรรคต พระบาท
สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ซึ่งทรงประกอบพระราชกรณียกิจที่เป็นประโยชน์อย่างมากมายมหาศาลต่อประเทศชาติ
ทั้งในด้านการคมนาคม การปกครอง กิจการเสือป่าและลูกเสือ รวมทั้งด้านศิลปวัฒนธรรม และด้านวรรณคดี เมื่อพระบาทสมเด็จ
พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต ทางการจึงกำหนดให้วันที่ 25 พฤศจิกายนของทุกปี เป็นวันวชิราวุธ เพื่อเทิดพระเกียรติและรำลึกถึง
พระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระมหากษัตริย์
รัชกาลที่ 6 แห่งราชวงศ์จักรี ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 29 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และองค์ที่ 2
ในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวง (สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี) พระราชสมภพเมื่อ
วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2423 มีพระเชษฐภคินีและพระอนุชาร่วมพระมารดารวม 8 พระองค์ ซึ่งมีพระอนุชาองค์เล็กคือ พระบาทสมเด็จ
พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เมื่อพระชนมพรรษาเจริญครบเดือน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทาน
พระนามว่า"สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ" ในปี พ.ศ. 2431 เมื่อพระชนมพรรษา 8 พรรษา ทรงได้รับการสถาปนา
ขึ้นเป็นเจ้าฟ้า"กรมขุนเทพทวาราวดี" ให้ทรงมีพระเกียรติยศเป็นชั้นที่ 2 รองจากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ
สยามมกุฎราชกุมาร และได้มีพระราชพิธีโสกันต์ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2435
ระหว่างที่ทรงศึกษาอยู่ ณ ประเทศอังกฤษ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ได้สวรรคต
เมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2437 พระองค์จึงได้รับการสถาปนาเฉลิมพระอิสริยยศขึ้นเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สืบแทนและได้ประกอบพระราชพิธีขึ้นเมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2437 ที่ประเทศไทย และที่สถานทูตไทยในกรุงลอนดอน
ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2437 พระองค์ทรงมีพระราชดำรัสอันเป็นวาทะอมตะว่า"ข้าพเจ้ากลับไปยังประเทศสยาม
เมื่อใด ข้าพเจ้าจะเป็นไทยให้ยิ่งกว่าวันที่ออกเดินทางมา" พระองค์ทรงศึกษาสรรพวิชาหลายแขนง ทั้งการทหารบกที่โรงเรียน
นายร้อยทหารบกแซนเฮิสต์ วิชาประวัติศาสตร์และกฎหมายที่วิทยาลัยไครสต์ เซิซ มหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด และทรงพระราชนิพนธ์
วิทยานิพนธ์ทางประวัติศาสตร์เรื่อง The War of the Polish Succession แต่ระหว่างที่ศึกษาอยู่ทรงพระประชวรด้วยพระโรคพระอันตะ
(ไส้ติ่ง)อักเสบ ทำให้ต้องทรงรับการผ่าตัดทันที จึงทรงพลาดโอกาสที่จะได้รับปริญญา ปี พ.ศ. 2447 พระองค์เสด็จออกพระผนวชตาม
ราชประเพณี ประทับอยู่ประจำวัดบวรนิเวศวิหาร ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินยุโรปครั้งที่ 2 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานอำนาจในราชกิจไว้แด่พระองคในฐานะทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชธิดาเพียงพระองค์เดียว คือ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงเพชรรัตนราชสุดาสิริโสภาพรรณวดี ประสูติแต่
พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ในวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 แต่หลังจากนั้นเพียง 1 วันคือวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468
เวลา 1 นาฬิกา 45 นาที พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จสวรรคตด้วยพระโรคพระโลหิตเป็นพิษในพระอุทร รวม
พระชนมพรรษาได้ 45 พรรษา รวมเสด็จดำรงสิริราชสมบัติได้ 15 พรรษา ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงประกอบพระราชกรณียกิจที่สำคัญหลายด้าน ไม่ว่าจะด้านการปกครอง การศึกษา กิจการกองเสือป่า ด้านวรรณกรรมฯลฯ
อันเป็นสิ่งที่ยังให้เกิดความวัฒนาต่อสยามประเทศ สืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน

วันอังคารที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒

ประมวลภาพการเข้าร่วมอบรมวิชาพิเศษลูกเสือและเนตรนารีสามัญรุ่นใหญ่

โรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์ บูรณวิทยา ได้เป็นตัวแทนของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรี เขต 1 นำลูกเสือและเนตรนารีสามัญรุ่นใหญ่ จำนวน 1 หมู่พร้อมด้วยผู้บังคับบัญชาประกอบด้วยครูบุญสม อะละมาลา ครูสมใจ ไชยยุทธ์
ด.ช.สฤษดิ์ เพชรเม็ดเต่ง ด.ช.มนัสวิน โชติช่วง ด.ช.ปิยะ เยือกเย็น ด.ญ.อันตา ทองศักดิ์ ด.ญ.วิไล เยี่ยมมิ่ง
ด.ญ.สุดารัตน์ ยงฮะ ด.ญ.น้ำฝน ดอนเมือง ด.ญ.วราพร คงเจริญ และด.ญ.ฐิติวรดา ศิริโรจน์ ไปเข้าร่วมการฝึกอบรมวิชาพิเศษลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ (วิชานักผจญภัย ผู้พิทักษ์ป่า นักธรรมชาติวิทยา และวิชานักแสดงการบันเทิง) ซึ่งจัดโดย สำนักบริหารยุทธศาสตร์และบูรณาการการศึกษาที่ 6 โดยมีลูกเสือเนตรนารีสามัญรุ่นใหญ่ และผู้บังคับบัญชาลูกเสือ
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในเขตตรวจราชการที่ 4 ได้แก่ กาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี สุพรรณบุรี และเขตตรวจราชการที่ 5 ได้แก่ ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร รวม 250 คน ระหว่างวันที่ 15-17 ต.ค. 52
ณ ค่ายลูกเสือจังหวัดประจวบคีรีขันธ์(ค่ายตาม่องล่าย) ต.อ่าวน้อย อ.เมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์



































วันอาทิตย์ที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๒

ประมวลภาพงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติครั้งที่ 18 พ.ศ. 2552

ประมวลภาพงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ ครั้งที่ 18 พ.ศ. 2552 ของโรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์ บูรณวิทยา
ระหว่างวันที่ 25 - 30 เมษายน พ.ศ. 2552
ณ ค่ายลูกเสือไทยเฉลิมพระเกียรติจังหวัดตรัง อ.ห้วยยอด จ.ตรัง